ยกเครื่องบทบาทแชมเปี้ยนและปรับเปลี่ยนไอเทม

เราจะเปลี่ยนแปลงบทบาทของแชมเปี้ยนใน TFT! รวมถึงปรับไอเทมบางส่วนไปพร้อมกันด้วย

ยกเครื่องบทบาทแชมเปี้ยน

พร้อม ๆ กับการปล่อยตัว K.O. Coliseum เราก็ได้กลับไปย้อนดูบทบาทของยูนิตต่าง ๆ และทำการพัฒนามันไปอีกขั้น

สรุปสั้น ๆ: เราจะปรับเปลี่ยนวิธีที่ยูนิตได้รับมานาขึ้นอยู่กับบทบาทของพวกเขา 

เป้าหมายในส่วนนี้ก็เพื่อสร้างระบบที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เราออกแบบแครี่ตีใกล้ หรือยูนิตเฉพาะทางที่มีสกิลและการโจมตีที่ต่างไปได้เพิ่มขึ้น รวมถึงทำให้เกมน่าตื่นเต้นมากขึ้นด้วยในภาพรวม สิ่งนี้จะไม่ส่งผลต่อวิธีที่คุณเล่น TFT แต่จะช่วยแก้ปัญหาสุดโต่งแปลก ๆ อย่างเช่น ความเสียหายกระจายไปโดนแครี่ศัตรู และมอบมานาให้กับพวกเขาอะไรแบบนั้น 

 แต่ก่อนอื่นเพื่อช่วยเตือนความจำ บทบาทคืออะไรล่ะ? หากคุณเคยคลิกขวาที่ตัวยูนิตเพื่อดูรายละเอียด อย่างเช่นพลังโจมตีและความเร็วโจมตี คุณก็น่าจะสังเกตเห็นบทบาทแชมเปี้ยนที่ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นหนทางในการแนะนำไอเทมสำหรับยูนิตนั้น ๆ

แต่ยูนิตทุกตัวก็ไม่ได้จำกัดความได้ง่ายขนาดนั้น เพราะพวกเขาควรจะทำได้ในสิ่งที่คุณคาดหวังเอาไว้ ตามตำแหน่งของตัวเองภายในเกม ดังนั้นในอนาคตข้างหน้า บทบาทของแชมเปี้ยนตอนนี้จะถูกจำกัดความโดยหน้าที่ซึ่งยูนิตนั้น ๆ ควรทำได้ และทำให้ระบบมีประโยชน์มากขึ้นไม่ใช่แค่เอาไว้สำหรับแนะนำไอเทมอย่างเดียว ระบบใหม่นี้จะช่วยเปิดช่องการออกแบบเพิ่มขึ้น และเปิดโอกาสให้เกิดแครี่ตีใกล้ที่น่าสนใจมากขึ้น รวมถึงสิ่งอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นคอยจับตาดูพวกเขาใน K.O. Coliseum ไว้ให้ดี! เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ก็ไปเริ่มกันเลย 

ยูนิตทุกตัวใน TFT ล้วนมีบทบาทเป็นของตัวเอง ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือประเภทความเสียหาย สิ่งนี้จะช่วยระบุตั้งแต่แวบแรกว่ายูนิตนั้นสร้างความเสียหายอะไร รวมถึงบอกประเภทไอเทมที่จะช่วยสนับสนุนเรื่องนั้น 

นี่คือประเภทความเสียหายทั้ง 3 แบบ:

  • โจมตี: ส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์จากพลังโจมตีในฐานะค่าสถานะด้านจู่โจม
  • พลังเวท: ส่วนใหญ่จะได้รับประโยชน์จากพลังเวทในฐานะค่าสถานะด้านจู่โจม 
  • ไฮบริด: ได้รับประโยชน์จากทั้งพลังโจมตีและพลังเวทในฐานะค่าสถานะด้านจู่โจม

ส่วนที่สองคือบทบาทภายในทีม สิ่งนี้จะช่วยระบุว่าแชมเปี้ยนนั้น ๆ มีปฏิสัมพันธ์กับระบบเกมเพลย์ต่าง ๆ อย่างไรบ้าง ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจ เราจะช่วยอธิบายเอง:

  • แทงค์: แชมเปี้ยนตีใกล้ที่รับความเสียหายให้กับทีม 

    • มานา 5 หน่วยต่อการโจมตี 
    • ได้รับมานาเมื่อรับความเสียหาย 
    • มีโอกาสถูกเล็งเป้ามากกว่า

นี่คือ Mundo ในฐานะแทงค์ผู้คอยรับความเสียหาย (และได้รับมานาส่วนหนึ่งกลับคืน)

  • ไฟเตอร์: แชมเปี้ยนตีใกล้ซึ่งรับหน้าที่สร้างความเสียหายในฐานะแถวหน้าสุดทนทาน 
    • มานา 10 หน่วยต่อการโจมตี 
    • ได้รับดูดเลือดต่อความเสียหายที่ทำได้ 10%
  • มือสังหาร: แชมเปี้ยนตีใกล้ซึ่งรับหน้าที่สร้างความเสียหาย ทั้งเปราะบางและว่องไว 
    • มานา 10 หน่วยต่อการโจมตี 
    • มีโอกาสถูกเล็งเป้าน้อยลง
  • มาคส์แมน: แชมเปี้ยนตีไกลที่สร้างความเสียหายด้วยการโจมตีปกติเป็นหลัก 
    • มานา 10 หน่วยต่อการโจมตี

ในส่วนนี้ Ashe คือมาคส์แมน Yasuo คือมือสังหาร และ Naafiri คือไฟเตอร์

  • แคสเตอร์: แชมเปี้ยนตีไกลที่สร้างความเสียหายด้วยการร่ายสกิลเป็นหลัก 
    • มานา 7 หน่วยต่อการโจมตี 
    • ได้รับมานา 2 หน่วยต่อวินาที 

นี่คือ Lucian ในฐานะแคสเตอร์

  • ผู้เชี่ยวชาญ: แชมเปี้ยนพิเศษ (เช่น Viktor จาก Into the Arcane)  
    • สร้างทรัพยากรในรูปแบบเฉพาะตัว 

ดังนั้น Kayle ในฐานะผู้เชี่ยวชาญจึงไม่มีมานา!

ประเภทความเสียหายและบทบาทภายในทีมเหล่านี้จะผนวกรวมกันเกิดเป็นบทบาทที่ต่างกัน 18 แบบใน TFT แต่ไม่ต้องกังวล ว่าต้องจำพวกมันทั้งหมดหรอกนะ เพราะคุณสามารถตรวจสอบยูนิตเพื่อดูบทบาทของพวกเขาได้เสมอ แม้ว่าเราจะปรับเปลี่ยนวิธีที่ยูนิตได้รับมานา แต่การยกเครื่องบทบาทก็ไม่น่าจะส่งผลต่อรูปแบบการเล่นของคุณมากนัก คุณจะยังคงนำแทงค์ไปวางในแถวหน้าเพื่อรับสกิลของศัตรู ในขณะที่แคสเตอร์และมาคส์แมนแถวหลังคอยสร้างความเสียหาย แต่หมายเหตุไว้หน่อยว่าไม่ใช่ทุกบทบาทที่จะปรากฏในทุก ๆ เซ็ต โดยเฉพาะไฮบริดและผู้เชี่ยวชาญ 

หนึ่งในการปรับเปลี่ยนสำคัญแก่บทบาทก็คือการเปลี่ยนแปลงระบบมานา โดยเราจะโยกย้ายจากมานาพื้นฐาน 10 หน่วยต่อการโจมตี รวมถึงการที่ทุกคนได้รับมานาจากการรับความเสียหาย ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง ก็คือในเซ็ตที่ผ่าน ๆ มา ไฟเตอร์ตีใกล้บางตัวสามารถสแปมสกิลและมีชีวิตรอดผ่านสถานการณ์ 1v9 หากพวกเขามีค่าดูดเลือดมากพอ อีกทั้งระบบเก่าก็ยังทำให้ความเสียหายแบบกระจายส่งผลเสียมากกว่า เพราะมันกลายเป็นไปมอบมานาให้กับแถวหลังของศัตรู นอกจากนั้นสำหรับตัวแทงค์ ค่าฟื้นฟูมานาก็รู้สึกไม่ค่อยเห็นมากผลนัก เนื่องจากหลอดมานาที่ค่อนข้างเยอะของพวกเขา และสำหรับยูนิตแทบทุกตัวที่ไม่ใช่แทงค์ ความเร็วโจมตีก็มักจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการได้รับมานา การที่ Red Buff กลายเป็นไอเทมที่ดีกว่า Morellonomicon สำหรับตัวแคสเตอร์ถือเป็นอะไรที่ค่อนข้างย้อนแย้ง 

เป้าหมายของเราในส่วนนี้ก็คือการคงไว้ซึ่งหนทางธรรมชาติที่ยูนิตได้รับมานา และมอบรางวัลให้กับแชมเปี้ยนที่มีมานาในการทำสิ่งที่พวกเขาควรทำต่อไป ดังนั้นในขณะที่พวกคุณเล่น K.O. Coliseum เราก็อยากให้ระบบนี้มีความเข้าถึงได้และรู้สึกเป็นธรรมชาติ ไปพร้อม ๆ กับที่คุณเลือกเล่นยูนิตเหล่านี้ในบทบาทต่าง ๆ อย่างที่เคยเป็นมาในอดีต ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้เราอัปเดตไอเทมและเปิดช่องการออกแบบมากขึ้นทั้งในเซ็ตนี้และในอนาคตของ TFT ไหน ๆ ก็พูดถึงแล้ว ไปดูการอัปเดตไอเทมกัน!

การเปลี่ยนแปลงไอเทม

หากคุณเล่นเกมของเราในช่วงไม่กี่เดือนก่อน (ไม่ว่ากันหรอกนะหากตอนนั้นไม่ได้เล่น) คุณก็อาจจะจำการอัปเดตไอเทมครั้งก่อนได้ อยากทวนความจำสักหน่อยไหม? เข้าไปอ่านได้ในนี้เลย

ต่อเนื่องจากการยกเครื่องบทบาทและอัปเดตวิธีที่แชมเปี้ยนได้รับมานา เราก็จะอัปเดตไอเทมเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง!

สรุปสั้น ๆ:

  • เอฟเฟกต์ที่ทำงานหนึ่งครั้งต่อการต่อสู้ตามพลังชีวิตที่กำหนดตอนนี้จะถูกระบุเป็นเอฟเฟกต์ “Lifeline” โดยสิ่งนี้จะช่วยสร้างหนทางในการมัดรวมเอฟเฟกต์เหล่านี้ในหมวดหมู่เดียว และช่วยให้คำอธิบายดูง่ายขึ้นอีกด้วย 
  • ไอเทมส่วนใหญ่ที่เคยมอบ “มานา” ตอนนี้จะมอบ “การฟื้นฟูมานา” แทน โดยการฟื้นฟูมานาคือค่าสถานะที่ดีต่อเกมมากกว่า ซึ่งเราจะเปิดตัวพร้อมการยกเครื่องบทบาทแชมเปี้ยน เนื่องจากมานาเริ่มต้นนั้นเป็นอะไรที่ประหลาด ๆ และไม่ได้ส่งผลดีต่อเกมมากนัก เพราะพลังของมันถูกยัดรวมเข้าไปในการร่ายสกิลครั้งแรก และจากนั้นก็ไม่ส่งผลอะไรเลย 
  • ไอเทมที่สร้างจากชิ้นส่วนไอเทมตอนนี้ไม่ถือเป็นไอเทมเฉพาะอีกต่อไป เพราะไอเทมเฉพาะส่วนใหญ่มักจะทำให้ผู้เล่นสับสน และนำไปสู่สถานการณ์น่าอึดอัดเมื่อชิ้นส่วนไอเทมไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ดังนั้นในอนาคตข้างหน้า เราจะทำให้มั่นใจว่าการใส่ไอเทมชิ้นเดียวกันหลาย ๆ ชิ้นคือสิ่งที่เป็นไปได้ ไม่ว่านั่นจะเป็นทางที่ดีที่สุดหรือไม่ก็ตาม คุณก็จะได้เลือกมันด้วยตัวเอง

ไอเทม

  • Tear of the Goddess
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 1
  • Spear of Shojin
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 1
  • Blue Buff (รีเวิร์ค): Blue Buff คือไอเทมที่ต้องตกอยู่ในพื้นที่การออกแบบอันจำกัดใน TFT มาอย่างยาวนาน ดังนั้นเราจึงจะปรับเปลี่ยนมัน เพราะแบบเดียวกับ Warmog’s, Deathblade, Deathcap และอื่น ๆ Tear สองชิ้นก็ควรจะกลายเป็น “ไอเทมฟื้นฟูมานาแบบจัดเต็ม”
    • ไม่นับเป็นไอเทมเฉพาะอีกต่อไป
    • ฟื้นฟูมานา: 5
    • พลังโจมตี: 15
    • พลังเวท: 15

นี่คือวิดีโอเปรียบเทียบ Blue Buff แบบเก่าและ Spear of Shojin จาก Cyber City กับเวอร์ชันใหม่ใน K.O. Coliseum:

  • Archangel’s Staff
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 1
  • Hand of Justice
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 1
  • Morellonomicon: เราจะโยกย้ายจากความเร็วโจมตี มาเน้นที่ค่าฟื้นฟูมานาสำหรับตัวแคสเตอร์แทน และทำให้มันกลายเป็นไอเทมฟื้นฟูมานาหนี่งเดียวที่ไม่ใช้ Tear อีกด้วย
    • ความเร็วโจมตี: 10 >>> 0
    • พลังเวท: 25 >>> 20
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Adaptive Helm (รีเวิร์ค):
    • ฟื้นฟูมานา: 2
    • ต้านทานเวท: 20
    • ได้รับมานาเพิ่มเติม 15% จากทุกอย่าง อีกทั้งผู้สวมใส่จะได้รับโบนัสขึ้นอยู่กับบทบาทของพวกเขา:
      • แทงค์/ไฟเตอร์: ได้รับเกราะและต้านทานเวท 35 หน่วย
      • บทบาทอื่น ๆ: ได้รับพลังโจมตีและพลังเวท 15 หน่วย
  • Protector’s Vow (รีเวิร์ค):
    • ฟื้นฟูมานา: 1
    • เกราะ: 25
    • ต้านทานเวท: 25
    • เริ่มการต่อสู้: ได้รับมานา 20 หน่วย
    • Lifeline: เมื่อพลังชีวิตเหลือ 40% ได้รับมานา 20 หน่วย และโล่ป้องกัน 20% จากพลังชีวิตสูงสุด
  • Giant Slayer (รีเวิร์ค): การสร้างความเสียหายเพิ่มเติมเมื่อโจมตีแทงค์คือเป้าหมายหลักสำหรับ Giant Slayer มาโดยตลอด และตอนนี้เราก็มีระบบมารองรับเรื่องนั้นแล้ว
    • พลังโจมตี: 25 >>> 20%
    • พลังเวท: 25 >>> 20%
    • ความเร็วโจมตี: 25 >>> 20%
    • การคูณความเสียหาย: 5% >> 10%
    • ได้รับการคูณความเสียหายเพิ่มเติม 15% เมื่อโจมตีแทงค์
  • Nashor’s Tooth:
    • พลังเวท: 10 >>> 20
    • ความเร็วโจมตีเมื่อเอฟเฟกต์ทำงาน: 60% >>> 30%
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Edge of Night
    • ไม่นับเป็นไอเทมเฉพาะอีกต่อไป
    • ความเร็วโจมตี: 0 >>> 15%
    • พลังเวท: 0 >>> 10
    • เกราะ: 10 >>> 0
    • Lifeline: เมื่อเหลือพลังชีวิต 60% ไม่ตกเป็นเป้าชั่วขณะ และลบล้างเอฟเฟกต์ด้านลบทั้งหมดออก
  • Titan’s Resolve
    • โบนัสค่าต้านทานสูงสุด: 20 >>> 15
    • ได้รับการต้านทาน CC เมื่อสแตคเต็มไปจนจบการต่อสู้
  • Hextech Gunblade
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 1

ไอเทมแห่งแสง

  • Radiant Spear of Shojin
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Radiant Archangel's Staff
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Radiant Hand of Justice
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Radiant Morellonomicon
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 4
  • Radiant Adaptive Helm
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 5
    • ต้านทานเวท: 25
    • ได้รับมานาเพิ่มเติม 40% จากทุกอย่าง อีกทั้งผู้สวมใส่จะได้รับโบนัสขึ้นอยู่กับบทบาทของพวกเขา:
      • แทงค์/ไฟเตอร์: ได้รับเกราะและต้านทานเวท 60 หน่วย
      • บทบาทอื่น ๆ: ได้รับพลังโจมตีและพลังเวท 30 หน่วย
  • Radiant Protector’s Vow
    • มานา: 30 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 3
    • เกราะ: 50
    • ต้านทานเวท: 50
    • เริ่มการต่อสู้: ได้รับมานา 30 หน่วย
    • Lifeline: เมื่อพลังชีวิตเหลือ 40% ได้รับมานา 40 หน่วย และโล่ป้องกัน 45% จากพลังชีวิตสูงสุด
  • Radiant Blue Buff
    • มานา: 30 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 10
    • พลังโจมตี: 60
    • พลังเวท: 60
  • Radiant Spirit Visage
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Radiant Giant Slayer
    • พลังโจมตี: 50
    • พลังเวท: 50
    • ความเร็วโจมตี: 20%
    • การคูณความเสียหาย: 20
    • โบนัสการคูณความเสียหาย: 20%
    • ได้รับการคูณความเสียหายเพิ่มเติม 25% เมื่อโจมตีแทงค์
  • Radiant Nashor’s Tooth
    • พลังเวท: 30
    • ความเร็วโจมตีพื้นฐาน:: 20
    • ความเร็วโจมตีเมื่อเอฟเฟกต์ทำงาน: 75
    • ฟื้นฟูมานา: 3
  • Radiant Edge of Night
    • ไม่นับเป็นไอเทมเฉพาะอีกต่อไป
    • ความเร็วโจมตี: 40%
    • พลังโจมตี: 25
    • พลังเวท: 30
    • เกราะ: 10 >>> 0
    • Lifeline: เมื่อเหลือพลังชีวิต 60% ไม่ตกเป็นเป้าชั่วขณะ และลบล้างเอฟเฟกต์ด้านลบทั้งหมดออก
  • Radiant Titan’s Resolve
    • โบนัสค่าต้านทานสูงสุด: 50 >>> 40
    • ได้รับการต้านทาน CC เมื่อสแตคเต็มไปจนจบการต่อสู้

ไอเทมวัตถุโบราณ

ใหม่
  • Dawncore
    • พลังเวท: 15
    • พลังโจมตี: 15
    • มานาเริ่มต้น: 15
    • ฟื้นฟูมานา: 5
    • ลดมานาสูงสุดของผู้สวมใส่ลง 10 หน่วย อีกทั้งการร่ายสกิลแต่ละครั้งจะลดมานาสูงสุดลงอีก 10% ต่ำสุดที่มานา 15 หน่วย
ปรับเปลี่ยน
  • Blighting Jewel
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Deathfire Grasp
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Horizon Focus
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Innervating Locket
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2
  • Manazane
    • มานา: 15 >>> 0
    • ฟื้นฟูมานา: 0 >>> 2

ตัวเลขอาจมีการเปลี่ยนแปลงก่อนเข้าเซิร์ฟเวอร์หลัก


ทั้งหมดนี้จะเข้าสู่เกมพร้อม K.O. Coliseum ในวันที่ 29 กรกฎาคมในแพตช์ TFT15.1 อย่าลืมเข้าไปลองกันด้วยล่ะ แต่หากคุณอยากอุ่นเครื่องก่อนเริ่มต้นเนื้อเรื่องภาคทัวร์นาเมนต์ ก็อย่าลืมรับชมวิดีโอ Dev Drop ล่าสุด หรือเข้าไปอ่านบทความอื่น ๆ อย่างเช่นสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก Cyber City หรือภาพรวมเกมเพลย์ของเราเพื่อเตรียมพร้อมกันได้เลย